НОВОСТИ ДЕЛОВОЙ СЕТИ N4.BIZ

The Joint Meeting of Thai-Russian and Russian-Thai Business Councils

สภาธุรกิจไทย-รัสเซีย และสภาธุรกิจรัสเซีย-ไทย จัดการประชุมร่วมสภาธุรกิจทั้งสองฝ่าย ในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00-12.15 น. ณ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย กรุงมอสโก โดยการประชุมมีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้

1. เอกอัครราชทูตไทยประจำสหพันธรรัฐรัสเซีย (ดร. อิทธิ ดิษฐบรรจง) กล่าวเปิดการประชุมและต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 116 ปี ทำให้ไทยนั้นใกล้ชิดกับรัสเซียมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2. ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานต่างประเทศของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหพันธรัฐรัสเซียรัสเซีย (Mrs. Tatiana Legchilina) กล่าวถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียผ่านความร่วมมือต่างๆ รวมถึงความสำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และหวังว่าการประชุมร่วมสภาธุรกิจสองฝ่ายในครั้งนี้จะเป็นพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การฑูต และสังคมวัฒนธรรม

3. ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย (คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล) กล่าวขอบคุณการต้อนรับจากสภาธุรกิจรัสเซีย-ไทย และเน้นถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซีย โดยในต้นปี 2556 ได้มีการประชุมร่วมสองฝ่าย ระหว่างไทยกับรัสเซีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมืออันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการมาเยือนรัสเซียของภาคเอกชนในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของภาคธุรกิจที่นอกเหนือไปจากความสัมพันธ์ของภาครัฐ โดยกรอบความสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การส่งเสริมโอกาสทางการค้าและการลงทุน และการพัฒนากิจกรรมทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับรัสเซีย นอกจากนี้ การประชุมร่วมสภาธุรกิจสองฝ่ายยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกัน การประชุมนี้ก็จะเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อาทิ การค้าและการลงทุน รวมถึงยังช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำธุรกิจระหว่างกัน และคุณเกรียงไกรยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายต่อไปในอนาคต

4. ประธานสภาธุรกิจรัสเซีย-ไทย (Dr. Andrey Bykov) กล่าวถึงความท้าทายและโอกาสในการเจรจาทางธุรกิจระหว่างรัสเซียและไทย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

4.1. ไทยและรัสเซียมีศักยภาพในการหมุนเวียนสินค้าและการเติบโตทางการลงทุนร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายต้องแสดงถึงความสนใจต่างๆ ระหว่างกัน โอกาสสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่จะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

4.2. ทั้งสองประเทศต้องใช้การศึกษาแบบเปรียบเทียบทางด้านประวัติศาสตร์และแนวคิด ในแผนงานนโยบายด้านต่างประเทศ และแบบแผนของการพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา และเราก็จะเห็นถึงความเชื่อมโยงที่หลากหลาย โดยเฉพาะการที่ไทยได้อยู่ใต้ร่มเงาของการปกครองอย่างดีของรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทางรัสเซียได้สูญเสียราชวงศ์ไปเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวรัสเซียจำนวนมากรู้สึกน้อยใจในการสูญเสียดังกล่าว และนั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ประชาคมโลกรู้สึกอิจฉาคนไทย ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมายังประเทศไทย 27 ล้านคนในปี 2555 ก็เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดี

4.3. นักท่องเที่ยวรัสเซีย จำนวนกว่า 1.6 ล้านคน ในปี 2555 โดยมีนักธุรกิจรัสเซียกว่า 5 หมื่นคนเดินทางมายังประเทศไทย ซึ่งมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจไทยที่เดินทางไปยังรัสเซีย ดังนั้น ทั้งสองประเทศควรมีการปรับเข้าหากันมากกว่าเก่า

4.4. อย่างไรก็ตาม รัสเซียยังไม่รู้สึกถึงความสนใจของไทยในการทำธุรกิจกับรัสเซีย ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นความผิดของฝ่ายรัสเซียที่ไม่ให้ข้อมูลทางด้านโอกาสในการลงทุนที่เพียงพอแก่ประเทศไทย ซึ่งในความเป็นจริง รัสเซียต้องการร้านอาหารไทย การแสดงของไทย และยาของไทย

4.5. รัฐบาลไทยและรัสเซียต้องสนับสนุนการก่อตั้งศูนย์กลางการค้าร่วมของทั้งสองประเทศ (The Russia-Thai Joint Trading House) ซึ่งจะเปิดรับความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างกัน โดยสภาธุรกิจรัสเซีย-ไทยเสนอว่าทั้งสองฝ่ายควรเริ่มความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองประเทศมีประสิทธิภาพเหนือกว่าประเทศอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น รัสเซียพร้อมที่จะดำเนินโครงการร่วมกับไทยในสาขาวิศวกรรมพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในไทยและสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าไทย

4.6. ศูนย์กลางการค้าร่วมนั้นมีเพื่อเป็นตัวแทนการปฏิบัติการถาวรของคณะกรรมาธิการระหว่างภาครัฐแบบทวิภาคี หากมีการกำหนดเป้าหมายที่ถูกต้อง ประกอบกับกรอบเงื่อนไขที่ดี การกระตุ้นเศรษฐกิจของกลุ่มเล็กๆ อาจก่อให้เกิดการขยายตัวของการหมุนเวียนสินค้าประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต่อปี

4.7. ทั้งนี้ สภาธุรกิจทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม ซึ่งกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันในปี 2557-2558 โดยครอบคลุมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ กิจกรรมส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจ การประชุมร่วมสภาธุรกิจสองฝ่าย การสัมมนา และงานนิทรรศการ เป็นต้น

Все новости

Среднее (Всего голосов: 1) 5.0

Комментарии

Реклама на n4.biz